ปีงบประมาณ
2567

1.การวิเคราะห์ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ในปี พ.ศ.2566

ประกอบด้วยประเด็นดังนี้

(1) กระบวนการปฏิบัติงานที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ
(2) การให้บริการและระบบ E-Service
(3) ช่องทางและรูปแบบการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภาครัฐ
(4) กระบวนการกำกับดูแลการใช้ทรัพย์สินของราชการ
(5) กระบวนการสร้างความโปร่งใสในการใช้งบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้าง
(6) กระบวนการควบคุม ตรวจสอบ การใช้อำนาจและการบริหารงานบุคคล
(7) กลไกและมาตรการในการแก้ไขและป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน

2.การกำหนดวิธีการนำผลการวิเคราะห์แต่ละประเด็นไปสู่การปฏิบัติ

(1) วิธีการนำผลการวิเคราะห์ไปสู่การปฏิบัติ
(2) การกำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
(3) การกำหนดขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติ
(4) ระยะเวลา

3.การวิเคราะห์ข้อจำกัดของหน่วยงานในการดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

     สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณหรือกฎหมายอื่น และให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ให้อยู่ภายใต้กรอบนโยบายการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำหนด

     ข้อจำกัดที่เป็นปัจจัยภายนอก ซึ่งผลกระทบเกิดจากปัญหาสงครามยูเครนทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกและในประเทศไทยมีการปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ ภารกิจกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีหน้าที่รักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมัน เข้าไปมีบทบาทช่วยให้ประชาชนในประเทศได้ใช้ราคาเชื้อเพลิงที่มีราคาต่ำกว่าราคาตลาดจริงเพื่อช่วยเหลือประชาชน โดยกองทุนฯ จะเข้าไปจ่ายเงินชดเชยให้กับบริษัทผู้ค้าน้ำมันฯ ในปีงบประมาณ 2566 สถานะเงินกองทุนฯ ติดลบ จึงต้องกู้เงินมาเพื่อจ่ายชดเชย และด้วยขั้นตอนการดำเนินงานจะเกี่ยวข้องกับส่วนราชการและธนาคาร จึงทำให้การกู้เงินต้องใช้ระยะเวลา จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ สกนช. ได้จ่ายเงินให้กับบริษัทผู้ค้าน้ำมันฯล่าช้า จึงอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลของการให้บริการมีค่าคะแนนลดต่ำลง

     แต่ทั้งนี้ ในส่วนของความพร้อมของระบบการให้บริการ สกนช. มีการให้บริการผ่าน E-Service ซึ่งเป็นแนวทางที่ทำให้บริษัทผู้ค้าน้ำมันสามารถยื่นขอรับเงินและติดตามสถานะของเงินที่ได้อย่างรวดเร็วขึ้น ดังนั้น แนวทางการส่งเสริมในประเด็นดังกล่าว จำเป็นต้องมีการจัดให้มีการประชุมที่เกี่ยวกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อสร้างความมั่นใจ และความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มงานการเงิน สำนักการเงินและบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการในปี 2567

     แล้วด้วยปีงบประมาณ 2566 สกนช. มีบุคลากรทั้งสิ้นจำนวน 20 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับภารกิจหลักองค์กร  เนื่องด้วยโครงสร้างองค์กรที่จะรับคนเพิ่มอยู่ระหว่างการพิจารณาขอความเห็นชอบซึ่งต่อมาได้รับความเห็นชอบจากกรมบัญชีกลางเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 เรียบร้อยแล้ว และด้วย สกนช. เป็นองค์กรที่มีลักษณะงานด้านนโยบายและเศรษฐกิจ ซึ่งมิได้ดำเนินงานด้านการอนุมัติอนุญาต กรณีผู้ตอบแบบประเมินผู้มีส่วนได้เสียภายนอกในกลุ่มประชาชนจึงมิได้ติดต่อกับ สกนช. โดยตรง จึงทำให้ผลการประเมินค่าคะแนนการรับบริการ เช่น  E-Service มีคะแนนค่อนข้างต่ำ เนื่องจาก E-Service ที่ สกนช. มีเป็นการให้บริการเฉพาะกลุ่ม ซึ่งเป็นบริษัทผู้ค้าน้ำมันฯ เป็นต้น

<<โดยมีรายละเอียดตามข้อ 1 - 3 ตามไฟล์ Link ด้านล่าง (เป็น ไฟล์ .pdf)>>

ภาพประกอบ
ภาพscale66
ภาพตารางสรุปคะแนน66